ตอนที่ 1

ทุนมูลนิธิอารยศิลป์ / ใครก็ได้ … แต่ไม่ใช่ใครก็ได้

ดร.ณัฐวัฒน์ สิทธิ

อาจารย์ ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้รับทุนมูลนิธิอารยศิลป์สิริวัณณวรีนารีรัตน์คนแรก

ตอนที่ 2

ทุนมูลนิธิอารยศิลป์ /่ส่งเสริม มอบโอกาส…สร้างสรรค์ศิลปะ สรรค์สร้างศิลปิน

 

ศิลปะกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย

เพื่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทย มูลนิธิอารยศิลป์สิริวัณณวรีนารีรัตน์ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนในทุกพื้นที่ จึงพระราชทานโอกาสทางการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างคอมพิวเตอร์กราฟิกและ 3D Printer ให้กับโรงเรียน 3 แห่งใน 3 พื้นที่ . เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้ออกแบบ ทำให้ความคิดในจินตนาการออกมาเป็นชิ้นงานจริง เป็นการเชื่อมโยงศิลปะกับเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ และมีส่วนเสริมให้เด็กค้นพบพรสวรรค์ด้านศิลปะและการออกแบบ ซึ่งจะส่งผลต่อการประกอบอาชีพในอนาคต

ชุดหนังสือ ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ และความรู้ทั่วไป

วัยเด็ก คือ วัยแห่งการเรียนรู้ ไม่เพียงแต่ด้านวิชาการแต่ยังรวมไปถึงด้านศิลปะ เพราะวัยเด็กเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการทุก ๆ ด้าน . ด้วยแนวคิดนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จึงได้พระราชทาน ชุดหนังสือ ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ และความรู้ทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยพระราชทานให้โรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บก.ตชด.) ทั้งหมด 224 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 64 เรื่อง รวมกว่า 7,500 เล่ม . โดยมีพระราชประสงค์ให้นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล ได้รับการส่งเสริมศิลปะในแขนงต่าง ๆ และใช้ศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อให้เด็ก ๆ เกิดการพัฒนาตนเอง สมดังพระปณิธานที่ว่า ศิลปะ คือ รากฐานสำคัญของเด็ก ที่จะเติบโตมาเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในอนาคต .

ศิลปินไทย ศิลปะสากล

ความรักในศิลปะและความทุ่มเททำในสิ่งที่รัก แม้จะมีอุปสรรคแต่ความตั้งใจสร้างสรรค์งานศิลปะอยู่ในสายพระเนตรที่กว้างไกล ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา องค์ประธานแห่งมูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ ที่ทรงมีพระปณิธานที่จะสนับสนุนผู้สนใจงานศิลปะให้ได้มีโอกาสใช้ศิลปะพัฒนาประเทศ จึงได้พระราชทานทุนการศึกษาให้ นางสาวศศิภา รัศมิทัต เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายณัฐวุฒิ สังฆัสโร ไปศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรที่ University of Music and Performing Arts Vienna ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นสถาบันดนตรีชั้นนำของโลก . สองนักดนตรีคลาสสิกแห่งวงรอยัล แบ็งคอกซิมโฟซี ออเคสตร้า หรือ RBSO มีโอกาสก้าวสู่ความเป็นสากลด้วยพระเมตตา และทำให้เป็นที่ประจักษ์ว่า ศิลปินและงานศิลปะ สามารถสร้างสรรค์สังคม สร้างเศรษฐกิจ และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ประเทศไทย ทัดเทียมกับสากล สมดังประปณิธานอย่างแท้จริง